ปัญหาทางการผลิตและการตลาดกุ้งกุลาดำในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา( 2544-2546) ทำให้ผู้เลี้ยงเริ่มหันมาสนใจการเลี้ยงกุ้งขาวซึ่งเป็นกุ้งที่มีความสำคัญเชิงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางแถบประเทศลาตินอเมริกา อมริกา อาฟริกา และบางประเทศในทวีปเอเซีย และเมื่อประเทศไทยประสบกับปัญหาทางการตลาดดังที่กล่าวข้างต้น กรมประมงจึงได้อนุญาตให้เอกชนนำเข้าพ่อ-แม่พันธุ์กุ้งขาวเข้ามาเพาะเลี้ยง โดยอนุญาตเป็นเวลา 1 ปี โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2545 จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธุ์ 2546
อย่างไรก็ตามในระหว่างปี 2540-2541 ได้มีเอกชนได้นำกุ้งขาว P.Vanamei จากประเทศไต้หวันมาทดลองเลี้ยงในจังหวัดภาคใต้และภาคตะวันออก มีทั้งได้ผลดีเพราะเลี้ยงด้วยอาหารกุ้งกุลาดำที่มีโปรตีนสูงและล้มเหลวเพราะติดโรคตัวแดงดวงขาว นอกจากนี้ผู้เลี้ยงในภาคตะวันออกบางราย ได้พัฒนาการเลี้ยงต่อให้เป็นพ่อแม่พันธุ์รุ่น F2 และ F3 และได้มีการทดลองเลี้ยงในบ่อดินมาตามลำดับ อีกทั้งยังมีการนำลูกกุ้งขาวเข้ามาในประเทศเป็นประจำโดยสำแดงสินค้าว่าเป็นลูกกุ้งกุลาดำ[1] ดังนั้นกรมประมงจึงได้ออกประกาศงดอนุญาตนำลูกกุ้งทะเลเข้ามาในราชอาณาจักร ในระยะเวลาดังกล่าวเป็นระยะที่การเลี้ยงและการตลาดกุ้งกุลาดำมีปัญหามาก จึงมีเอกชนหลายรายพยายามหาทางที่จะนำกุ้งขาวเข้ามาเลี้ยง แต่ก็ยังไม่ได้รับอนุญาต ต่อมา(6 ส.ค 2544)บริษัทแซมได้ทำหนังสือ เสนอข้อมูลต่างๆ ที่เคยเลี้ยงในประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 15 ปี และปัญหากุ้งกุลาดำที่เกิดขึ้น ตลอดจนต้องการรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดในตลาดโลก จำเป็นต้องหากุ้งพันธุ์อื่นๆมาเลี้ยงเพื่อทดแทนสักระยะหนึ่ง อีกทั้งบางประเทศสามารถผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้งปลอดเชื้อ(SPF)ได้แล้ว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา หากกรมประมงออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขให้รัดกุม เช่น การควบคุมตรวจสอบ มีในรับรองที่เชื่อถือได้ ก็น่าจะอนุญาตให้นำเข้าพ่อแม่กุ้งขาวเข้ามาในประเทศเพื่อเพาะเลี้ยงได้ ดีกว่าจะปล่อยให้มีการลักลอบการนำเข้า ซึ่งยากต่อการควบคุม และเนื่องจากกุ้งขาวเป็นกุ้งที่เลี้ยงง่ายและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี โดยเฉพาะการปรับตัวให้อยู่ในน้ำที่มีความเค็มตั้งแต่ 0.5-35 ppt ได้ จึงเป็นที่ต้องการของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงในพื้นที่น้ำจืด จึงทำให้มีการเรียกร้องนำเข้ากุ้งขาวเพื่อการเพาะเลี้ยงมีมากขึ้น
ดังนั้น กรมประมงได้ออกระเบียบว่าด้วยการขอหนังสือรับรองโรงเพาะฟักกุ้งขาว P.vanamei เพื่อการเพาะพันธุ์ พ.ศ 2545 โดยอนุญาตให้นำพ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวที่ปลอดเชื้อเข้ามาในประเทศเพื่อเพาะพันธุ์ตั้งแต่ 11 มีนาคม – 31สิงหาคม 2545 และขยายเวลาต่ออีก 6 เดือน จนถึง 28 กุมภาพันธุ์ 2546 หลังจากนั้น ได้ว่าจ้างหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาโครงการประเมินผลกระทบการนำกุ้งขาว P.vanamei เข้าประเทศไทย
ชวนพิศ สิทธิมังค์(2547),นิตยสารสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ปีที่ 3 ฉบับที่ 22 เดือนเมษายน 2547
การเลี้ยงกุ้งของไทยในช่วงเริ่มต้นเป็นการทำนากุ้งแบบธรรมชาติ โดยการสูบน้ำทะเลเข้าสู่บ่อขนาดใหญ่ประมาณ 50-100 ไร่ กักเก็บไว้ประมาณ 20-30 วัน แล้วเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยใช้ถุงอวนกั้นในขณะที่ปล่อยน้ำออก ผลผลิตที่ได้มีทั้งกุ้ง ปลา และสัตว์อื่นๆ ได้ผลผลิตประมาณ 40-50 กิโลกรัม/ไร่
ทั้งนี้นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ที่กรมประมงประสบผลสำเร็จในการเพาะพันธุ์กุ้งแชบ๊วยได้ในโรงเพาะฟัก จึงส่งเสริมให้เกษตรกรที่ทำนากุ้งธรรมชาติโดยมีการขยายตัวในจังหวัดทางภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ซึ่งการเลี้ยงกุ้งเชิงพาณิชย์ของภาคใต้นิยมเลี้ยงกุ้ง 2 ชนิด คือกุ้งขาวแวนา ไมกุ้งกุลาดำ
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน) (2551)
การเลี้ยงกุ้งของไทยในช่วงเริ่มต้นเป็นการทำนากุ้งแบบธรรมชาติ โดยการสูบน้ำทะเลเข้าสู่บ่อขนาดใหญ่ประมาณ 50-100 ไร่ กักเก็บไว้ประมาณ 20-30 วัน แล้วเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยใช้ถุงอวนกั้นในขณะที่ปล่อยน้ำออก ผลผลิตที่ได้มีทั้งกุ้ง ปลา และสัตว์อื่นๆ ได้ผลผลิตประมาณ 40-50 กิโลกรัม/ไร่
ทั้งนี้นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ที่กรมประมงประสบผลสำเร็จในการเพาะพันธุ์กุ้งแชบ๊วยได้ในโรงเพาะฟัก จึงส่งเสริมให้เกษตรกรที่ทำนากุ้งธรรมชาติโดยมีการขยายตัวในจังหวัดทางภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ซึ่งการเลี้ยงกุ้งเชิงพาณิชย์ของภาคใต้นิยมเลี้ยงกุ้ง 2 ชนิด คือกุ้งขาวแวนา ไมกุ้งกุลาดำ
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน) (2551)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น